HomePriceStandardAboutUsNewsArticlesWebboardContact

 

ประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม (Energy Points)
 

จากการที่ สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ให้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์การเผยแพร่แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม เพื่อเผยแพร่แนวทางการอนุรักษ์พลังงานให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น และความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจากการดำเนินงานพบว่า ภาคอุตสาหกรรมให้การตอบรับถึงความยินดีที่ภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และเสนอแนะความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ ให้ภาครัฐช่วยส่งเสริม อาทิเช่น การสนับสนุนเงินทุน, การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ, การสนับสนุนด้านข้อมูลความรู้, การสนับสนุนในด้านการสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานภายในองค์กร เป็นต้น โดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย     (ส.อ.ท.) ในฐานะของตัวแทนภาคอุตสาหกรรมที่มีสมาชิกกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ จึงเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะช่วยส่งเสริมจูงใจให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมเริ่มตระหนักถึงความสำคัญ และเริ่มนำแนวทางการอนุรักษ์พลังงานมาประยุกต์ใช้ด้วยตนเองอย่างจริงจังเพื่อความยั่งยืน จึงเสนอขอรับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ในการดำเนิน “โครงการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม Energy Point ทั้งนี้เพื่อเป็นการเริ่มปลูกฝังให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องตระหนักถึงอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนตลอดไป 
 

กลุ่มเป้าหมาย โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม ทั่วประเทศ ผ่านเครือข่ายสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และศูนย์กลางการเผยแพร่ข้อมูล 18 กลุ่มจังหวัด และกรุงเทพฯ

 

แนวทางการสะสมคะแนน Energy Point

  1. คะแนน (Point ที่ 1) ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน (Policy)และประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทราบโดยทั่วถึง
  2. คะแนน (Point ที่ 2) ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร ดำเนินการแต่งตั้งผู้ประสานงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Man) โดยคุณสมบัติในเบื้องต้นคือ เป็นพนักงานประจำของบริษัทเพศชายหรือหญิง และไม่จำกัดจำนวนคน เพื่อเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับผู้บริหาร,พนักงาน,หน่วยงานต่างๆ ภายนอก เพื่อดำเนินการอนุรักษ์พลังงานได้
  3. คะแนน (Point ที่ 3) ผู้ประกอบการหรือ Energy Man ดำเนินการวางแผนการอนุรักษ์พลังงานประจำปี (Planning) เพื่อดำเนินการลดการใช้พลังงานในโรงงาน
  4. คะแนน (Point ที่ 4) ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารต้องดำเนินการทบทวนแผนการอนุรักษ์พลังงาน (Review Plan) หลังจากได้รับความรู้ต่างๆ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน เช่น การอบรมให้ความรู้ด้านพลังงาน (Training) ,เข้าเยี่ยมชม (Site Visit) โรงงานต้นแบบหรือโรงงานอนุรักษ์พลังงานดีเด่น (Model Factory) และได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ (One Day Audit) เป็นต้น เพื่อขอรับการสนับสนุนเงินลงทุนในอัตราร้อยละ 30 แต่ไม่เกิน 300,000บาท ต่อแห่ง ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร 

 

สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการสะสมคะแนน Energy Point (โดยไม่มีค่าใช้จ่าย)

          เมื่อผู้ประกอบการสะสมคะแนนได้อย่างน้อย 3 Points สามารถนำมาแลกรับสิทธิประโยชน์ด้านพลังงานต่างๆ ได้ดังนี้

  1. ผู้ประกอบการสามารถนำคะแนน 1 Point (Point ที่ 1) มาแลกรับสิทธิประโยชน์ในการอบรม (Training) แนวทางการอนุรักษ์พลังงานในหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจังหวัดมีความต้องการได้รับความรู้        
     
  2. ผู้ประกอบการสามารถนำคะแนน 1 Point (Point ที่ 2) มาแลกรับสิทธิประโยชน์เข้าเยี่ยมชม (Site Visit)โรงงานต้นแบบหรือโรงงานอนุรักษ์พลังงานดีเด่น (Model Factory) ภายในกลุ่มจังหวัดของท่านได้ 1 ครั้ง
     
  3. ผู้ประกอบการสามารถนำคะแนน 1 Point (Point ที่ 3) มาแลกรับสิทธิประโยชน์ ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าให้คำแนะนำด้านการอนุรักษ์พลังงานภายในโรงงาน 1 วัน (One Day Audit)
     

                    โดยผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่ ดังนี้

                    3.1  แนะนำมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม

                    3.2  ตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้งานเบื้องต้นของเครื่องจักรและระบบ Utility ภายในโรงงาน พร้อมแนะนำจุดที่ควรปรับเปลี่ยน

                    3.3  ให้คำแนะนำในการปรับแผนการอนุรักษ์พลังงานของโรงงานให้มีความเหมาะสม

                    3.4 จัดทำสรุปผลการเข้าให้คำแนะนำประเด็นที่ควรดำเนินการปรับปรุงภายในโรงงาน

 

กรณีที่ผู้ประกอบการต้องการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์

          ผู้ประกอบการสามารถนำคะแนน 1 Point (Point ที่ 4) ยื่นเรื่องขอรับการสนับสนุนเงินทุนเพื่อดำเนินการปรับปรุงหรือติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน (ตามแผนการอนุรักษ์พลังงานของโรงงานที่ปรับปรุงแล้ว) ในอัตราร้อยละ 30 (แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อแห่ง) โดยสามารถยื่นแบบฟอร์มได้ที่สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ของท่าน

            **หมายเหตุ วงเงินสนับสนุนเงินทุนเพื่อดำเนินการปรับปรุงหรือติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ประหยัดพลังงานนั้น เบื้องต้นกระจายการสนับสนุนไปแต่ละกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัดและกรุงเทพฯ กลุ่มละ 3 ล้านบาท รวมทั้งหมด 57 ล้านบาท โดยหากกลุ่มจังหวัดใดขอรับการสนับสนุนไม่เต็มวงเงิน คณะกรรมการจะพิจารณากระจายวงเงินสนับสนุนดังกล่าวไปยังกลุ่มจังหวัดอื่นๆ ที่มีการยื่นขอรับการสนับสนุนไว้เกิน 3 ล้านบาทต่อไป

 

การขอรับเงินสนับสนุน 30% (แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ต่อแห่ง) มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

1. ผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร ได้มีการทบทวนแผนการอนุรักษ์พลังงานที่วางไว้ร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญของโครงการฯ และมีความพร้อมที่จะลงทุนปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรอุปกรณ์ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

2. ติดต่อสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือที่สภาอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ของท่าน เพื่อยื่นแบบฟอร์มการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร-อุปกรณ์

3. ดำเนินการปรับปรุงหรือติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน

4. ตรวจวัดผลก่อนและหลัง (Before-After) โดย Supplier ผู้ติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์

*ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ประกอบการที่เคยได้รับเงินทุนสนับสนุนในลักษณะโครงการเดียวกันมาก่อน*

 

การรับเงินสนับสนุน 30%

งวดที่ 1 จ่ายอัตราร้อยละ 50 ของวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน

              เมื่อผู้ประกอบการผ่านการคัดเลือกให้ดำเนินการและดำเนินการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเสร็จสิ้นเรียบร้อย

งวดที่ 2 จ่ายอัตราร้อยละ 50 ของวงเงินที่ได้รับการสนับสนุน

              เมื่อผู้ประกอบการ ดำเนินการตรวจวัด และพิสูจน์ผลประหยัดร่วมกับทีมผู้เชี่ยวชาญ

 

กำหนดระยะเวลา

ระยะเวลาการสะสม Energy Point

เริ่มตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2559 ถึงวันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559

ระยะเวลาการนำ Energy Point แลกรับสิทธิประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2559 ถึงวันอังคารที่ 31 มกราคม 2560

หมายเหตุ กำหนดระยะเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 
 

 

 
  การร่วมออกบูธในงาน TIWF 2024
  การประชุมคณะกรรมการสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย ครั้งที่ 3/2567
  การเข้าร่วมประชุม The 8th Global Rubber Wood Industry Conference
  ร่วมเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลและสวดพระอภิธรรม คุณพ่อชูศักดิ์ ลิขิตหวังพาณิชย์
  นายกสมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย เข้าร่วมกิจกรรม Ready for EUDR in Thailand : RAOT พร้อมก้าวสู่มาตรฐานสากล
  more
 

 

คลิก สมัครสมาชิก
 
   
ข้อมูล E Tree กรมป่าไม้
 
 

 

 
รหัสสมาชิก
ชื่อสมาชิก
ชื่อบริษัท
หมวดสินค้า
 

ธันวาคม 2567
อา
พฤ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
-
-
-
-
   


Copyright 2015 THAI Hevea Wood Associate All Rights Reserved.
Designed by ME-FI dot com